เครือข่ายคอมพิวเตอร์
|

อุปกรณ์เครือข่าย
เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
เครื่องแม่ข่าย เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หลักในเครือข่าย
ที่ทำหน้าที่จัดเก็บและให้บริการไฟล์ข้อมูลและทรัพยากรอื่นๆ
กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ใน เครือข่าย
โดยปกติคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้เป็นเซิร์ฟเวอร์มักจะเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง
และมีฮาร์ดดิสก์ความจำสูงกว่าคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ในเครือข่าย
ไคลเอนต์ (Client) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
เครื่องลูกข่าย เป็นคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ร้องขอ
บริการและเข้าถึงไฟล์ข้อมูลที่จัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ไคลเอนต์
เป็นคอมพิวเตอร์ ของผู้ใช้แต่ละคนในระบบเครือข่าย
ฮับ (HUB)
หรือ เรียก รีพีตเตอร์ (Repeater)
คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อกลุ่มคอมพิวเตอร์ ฮับ
มีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง
ไปยังพอร์ตที่เหลือ
คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือข่าย
เพราะฉะนั้นถ้ามีคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อมากจะทำให้อัตราการส่งข้อมูลลดลง
สวิตช์ (Switch) คืออุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่
2 และทำหน้าที่ส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังพอร์ตเฉพาะที่เป็นปลายทางเท่านั้น
และทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือส่งข้อมูลถึงกันในเวลาเดียวกัน
ดังนั้น อัตราการรับส่งข้อมูลหรือแบนด์วิธจึงไม่ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันนิยมเชื่อมต่อแบบนี้มากกว่าฮับเพราะลดปัญหาการชนกันของข้อมูล
เราเตอร์ (Router)เป็นอุปรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ที่
3 เราท์เตอร์จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว
(Header) ข้อแพ็กเก็ตข้อมูล
เพื่อที่จะกำหนดและส่งแพ็กเก็ตต่อไป เราท์เตอร์จะมีตัวจัดเส้นทางในแพ็กเก็ต
เรียกว่า เราติ้งเทเบิ้ล (Routing Table) หรือตารางจัดเส้นทางนอกจากนี้ยังส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายที่ให้โพรโทคอลต่างกันได้
เช่น IP (Internet Protocol) , IPX (Internet Package Exchange) และ AppleTalk นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นได้
เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะใช้ในการเชื่อมต่อวงแลน
(LAN Segments) เข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของ LAN
ออกไปได้เรื่อยๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบ ไม่ลดลงมากนัก
เนื่องจากการติดต่อของเครื่องที่อยู่ในเซกเมนต์เดียวกันจะไม่ถูกส่งผ่าน
ไปรบกวนการจราจรของเซกเมนต์อื่น และเนื่องจากบริดจ์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานอยู่ในระดับ
Data Link Layer จึงทำให้สามารถใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่แตกต่างกันในระดับ
Physical และ Data Link ได้ เช่น
ระหว่าง Eternet กับ Token Ring เป็นต้น
บริดจ์ มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่
เพียงเครือข่ายเดียว
เพื่อให้ เครือข่ายย่อยๆ
เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่นๆ ได้
เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เชื่อมต่อเครือข่ายต่างประเภทเข้าด้วยกัน
เช่น การใช้เกตเวย์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย ที่เป็นคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี (PC)
เข้ากับคอมพิวเตอร์ประเภทแมคอินทอช
อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต (Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก
โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol)
ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ
รวมทั้งคัดลอกแฟ้มข้อมูลและโปรแกรมมาใช้ได้
ที่มาของอินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี
ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม
ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ
เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET
ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย
อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
พัฒนาการของอินเตอร์เน็ต
ปี พ.ศ. 2500 (1957) โซเวียดได้ปล่อยดาวเทียม
Sputnik ทำให้สหรัฐอเมริกาได้ตระหนักถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น
ดังนั้น ค..ศ. 2512 (1969) กองทัพสหรัฐต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงทางการทหาร
และความเป็นไปได้ในการถูกโจมตี ด้วยอาวุธปรมาณู หรือนิวเคลียร์ การถูกทำลายล้าง
ศูนย์คอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารข้อมูล อาจทำให้เกิดปัญหาทางการรบ และในยุคนี้
ระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีหลากหลายมากมายหลายแบบ ทำให้ไม่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสาร และโปรแกรมกันได้ จึงมีแนวความคิด ในการวิจัยระบบที่สามารถ
เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ระหว่างระบบที่แตกต่างกันได้
ตลอดจนสามารถรับส่งข้อมูลระหว่างกัน ได้อย่างไม่ผิดพลาด
แม้ว่าคอมพิวเตอร์บางเครื่อง หรือสายรับส่งสัญญาณ เสียดายหรือถูกทำลาย
กระทรวงกลาโหมอเมริกัน ( DoD = Department of Defense) ได้ให้ทุนที่มีชื่อว่า
DARPA (Defense Advanced Research Project Agency) ภายใต้การควบคุมของ
Dr. J.C.R. Licklider ได้ทำการทดลอง
ระบบเครือข่ายที่มีชื่อว่า DARPA Network และต่อมาได้กลายสภาพเป็น
ARPANet (Advanced Research Projects Agency Network) และต่อได้มาพัฒนาเป็น
INTERNET ในที่สุด
การเริ่มต้นของเครือข่ายนี้
เริ่มในเดือน ธันวาคม 2512 (1969) จำนวน 4 มหาวิทยาลัย ได้แก่
- มหาวิทยาลัยยูทาห์
- มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาบารา
- มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลอสแองเจลิส
- สถาบันวิจัยของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
และขยายต่อไปเรื่อยๆ
เป็น 50 จุดในปี พ.ศ. 2515 จนเป็นหลายล้านแห่งทั่วโลกทีเดียว
งานหลักของเครือข่ายนี้ คือ การค้นคว้าและวิจัยทางทหาร
ซึ่งอาศัยมาตรฐานการรับส่งข้อมูลเดียวกัน ที่เรียกว่า Network Control
Protocol (NCP) ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูล
การตรวจสอบความผิดพลาดในการส่งข้อมูล และตัวกลางที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน
และมาตรฐานนี้ก็มีจุดอ่อนในการขยายระบบ จนต้องมีการพัฒนามาตรฐานใหม่
พ.ศ. 2525 ได้มีมาตรฐานใหม่ออกมา คือ Transmission
Control Protocol/Internet Protocol (TCP/IP) อันเป็นก้าวสำคัญของอินเทอร์เน็ต
เนื่องจากมาตรฐานนี้ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกัน
สามารถรับส่งข้อมูลไปมาระหว่างกันได้
เปรียบเสมือนเป็นหัวใจของอินเทอร์เน็ตเลยก็ว่าได้

จากระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่มีอยู่ในยุคนั้น
ไม่สามารถตอบสนองการสื่อสารได้ บริษัทเบลล์ ( Bell) ได้ให้ทุนการศึกษาแก่
ห้องทดลองที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง ในสมัยต่อมา คือ Bell's Lab ให้ทดลองสร้าง ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคต (ของคนในยุคนั้น) เดนนิส ริสซี และ
เคเน็ต ทอมสัน ได้ออกแบบ และพัฒนาระบบที่มีชื่อว่า UNIX ขึ้น
และแพร่หลายอย่างรวดเร็ว พร้อมๆ กับการแพร่หลายของระบบ Internet เนื่องจากความสามารถ ในการสื่อสารของ UNIX และมีการนำ
TCP/IP มาเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการนี้ด้วย พ.ศ.
2529 มูลนิธิวิทยาลัยศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Science
Foundation - NSF) ได้วางระบบเครือข่ายขึ้นมาอีกระบบหนึ่ง เรียกว่า NSFNet
ซึ่งประกอบด้วยซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ 5 เครื่องใน
5 รัฐ เชื่อมต่อเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา
และค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้มาตรฐาน TCP/IP เป็นมาตรฐานหลักในการรับส่งข้อมูล
ส่งผลให้การใช้งานเครือข่ายเป็นไปอย่างรวดเร็ว
หลังจากนั้นก็มีเครือข่ายอื่นๆ เกิดขึ้นมาเช่น UUNET, UUCP,
BitNet, CSNet เป็นต้น และต่อมาได้เชื่อมต่อกัน โดยมี NSFNet
เป็นเครือข่ายหลัก ซึ่งเปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของเครือข่าย (Backbone) ในปี พ.ศ. 2530 เครือข่าย ARPANET ได้รวมกับ NSFNET และลดบทบาทตัวเองลงมา
เปลี่ยนไปใช้บทบาทของ NSFNet แทน และเลิกระบบ ARPANET
ในปีพ.ศ. 2534 ในปัจจุบัน Internet เป็นการต่อโยงทางตรรกะ (Logic)
ของระบบคอมพิวเตอร์นับล้าน ๆ เครื่อง และโยงกับระบบ Wide
Area Network (WAN) ต่างๆ เช่น MILNET, NSFNET, CSNET,
BITNET หรือแม้แต่ เครือข่ายทางธุรกิจ เช่น IBMNET,
Compuserve Net และอื่น ๆ ภายใต้โปรโตคอล ที่มีชื่อว่า TCP/IP
โดยที่ขนาดของเครือข่าย ครอบคลุมไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย
และมีการขยายขอบเขตออกไป อย่างไม่หยุดยั้ง
ระบบ Internet เป็นการนำเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
ที่มีการต่อเสมือนกับ ใยแมงมุม หรือ World Wide Web หรือเรียกย่อๆ
ว่า WWW ( มีการบัญญัติศัพท์ว่า เครือข่ายใยพิภพ) ในระบบนี้เราสามารถเปรียบเทียบ
Internet ได้ สองลักษณะคือ ลักษณะทางกายภาพ และทางตรรกะ
ในทางกายภาพ (Physical) นั้น Internet เป็นเครือข่ายที่รับอิทธิพลจาก
เครือข่ายโทรศัพท์โดยตรง ในสหรัฐอเมริกา บริษัทที่เป็นผู้ให้บริการ Internet
ก็เป็นบริษัทที่ทำธุรกิจ ทางโทรศัพท์ เช่น MCI, AT&T,
BELL เป็นต้น และอีกลักษณะหนึ่ง ที่เป็นความเด่นของระบบ
คือลักษณะทางตรรกะ หรือ LOGICAL CONNECTION ที่เป็นเสมือนใยแมงมุม
ครอบคลุมโลกไว้
บริการบนโลกอินเตอร์เน็ต
1. World Wide
Web (WWW) เครือข่ายใยแมงมุม เป็นการเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างข้อมูลในรูปของ Interactive Multimedia คือ
มีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ
อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังใช้ระบบที่เรียกว่า hypertext กล่าวคือ
จะมีคำสำคัญหรือรูปภาพในข้อมูลนั้นที่จะช่วยให้ท่าน
เข้าสู่รายละเอียดที่ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น
คำสำคัญดังกล่าวจะเป็นคำที่เป็นตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ เพียง แต่ท่านเลือกกด ที่คำ
ที่เป็นตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ นั้น ๆ ท่านก็สามารถเข้าสู่ข้อมูลเพิ่มเติมได้
(ข้อมูลเหล่านี้จะมีผู้สร้างขึ้นมาและเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ต่าง ๆ ทั่วโลก)

2. ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ E-Mail) เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เนตที่คนนิยมใช้กันมากคือส่งจดหมายโดยทางคอมพิวเตอร์ถึงผู้ที่มีบัญชีอินเตอร์เน็ต
ด้วยกันไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลคนละซีกโลกจดหมายก็จะไปถึงอย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดายโปรแกรมที่ใช้
ได้แก่ Hotmail , YahooMail , ThaiMail และยังมี Mail ต่าง ๆ ที่ให้บริการอย่างมากมายในปัจจุบัน ตามหน่วยงานหรือ องค์กรต่าง ๆ

3. Search Engine (บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต) Search Engine เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการที่จะค้นหาเว็บไซต์ต่าง
ๆ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ ตัวเองโดยอัตโนมัติ
เช่น Google.com หรือ Altavista.com ซึ่งเครื่องมือนี้
มีชื่อเรียกว่า Search Robot จะทำหน้าที่คอยวิ่งเข้าไปอ่านข้อความจากหน้าเว็บไซต์
ของเว็บต่าง ๆ แล้วนำมาจัดลำดับคำค้นหา (Index) ที่มีในเว็บไซต์เหล่านั้น เก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเอง
เมื่อเราเข้าไปใช้บริการ กับ Search Engine

4. Instant Message (บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต
)คือการสนทนาทางโทรศัพท์อย่างหนึ่งแต่เป็นในรูปของตัวอักษร
พนักงานในบริษัททั้งขนาดเล็กและใหญ่ต่างใช้
IM เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร สำหรับคนอีกจำนวนมาก
IM คือการสื่อสารสำรองเมื่ออีเมล์มีปัญหาหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ

5.Telnet เป็นบริการที่ช่วยให้เราสามารถเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นเสมือนหนึ่งไปนั่งใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของที่นั่น
โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ได้คือ โปรแกรม NCSA Telnet เมื่อเปิดโปรแกรมแล้วให้พิมพ์คำสั่ง Telnet ดังในรูปภาพข้างล่างเมื่อท่านใช้คำสั่ง
Telnet แล้วให้พิมพ์ที่อยู๋ของแหล่งข้อมูลนั้น ท่านก็จะสามารถเข้าสู่ระบบข้อมูลนั้น
ๆ ได้เสมือนท่านไปนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของเครื่อง ๆ นั้นเลยทีเดียว ระบบ Telnet

6. FTP (File
Transfer Protocol) คือ บริการที่ใช้ในการโอนย้าย file หรือข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกคอมพิวเตอร์หนึ่ง
สามารถโอนย้ายข้อมูล เช่น รูปภาพ , ข้อความ , บทความ
, คู่มือ และโปรแกรมต่าง ๆ

7. Web board (บริการกระดานข่าวหรือ
เวบบอร์ด ) คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา
เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

มารยาทการใช้อินเทอร์เน็ต มีดังนี้
1. การใช้อักษรพิมพ์ตัวใหญ่หมดทุกตัวในการเขียนจดหมายจะเป็นเสมือนการตะโกน
ดังนั้นควรเลือกใช้ตัวอักษรให้เหมาะสม
2. ไม่ควรใช้อารมณ์ในการตอบโต้
และควรรักษามารยาทโดยใช้คำที่สุภาพ
3. ไม่มีความลับใด ๆ บน Internet
ให้นึกเสมอว่าข้อความของเราจะมีคนอ่านมากมายเมื่อเขียนไปแล้วไม่สามารถลบล้างได้
คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้งานอินเตอร์เน็ต
ในสังคมอินเทอร์เน็ตนั้น
มีทั้งคนดีและคนไม่ดีเช่นเดียวกับสังคมทั่วไป
ผุ้ใช้ที่ไม่ระมัดระวังจึงอาจถูกล่อลวงไปในทางที่ผิดหรือก่อให้เกิดอันตราย ได้
ฉะนั้น วิธีหนึ่งที่จะป้องกันเยาวชนไทยจากปัญหาเหล่านี้ก็คือ
การให้เยาวชนรู้จักกับศิลปป้องกันตัวในอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรจะรู้และยึดถือปฏิบัติ ดังนี้
1. ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่
เบอร์โทรศัพท์ ชื่อ โรงเรียนของตนให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
2. หากพบข้อความหรือรูปภาพใดๆ
บนอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะหยาบคายหรือไม่เหมาะสม ควรแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
3. ไม่ควรไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก
ผู้ปกครองก่อน และหากผู้ปกครองอนุญาต ก็ควรไปพร้อมกับผู้ปกครอง
โดยควรไปพบกันในที่สาธารณะ
4. ไม่ส่งรูปหรือสิ่งใดๆ
ให้บุคคลที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต โดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
5. ไม่ตอบคำถามหรือต่อความกับผู้ที่สื่อข้อความหยาบคาย
และต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
6. ควรเคารพต่อข้อต่อลงในการใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้ไว้กับผู้ปกครอง
เช่น กำหนดระยะเวลาในการใช้อินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ที่ผู้ปกครองอนุญาตให้เข้าได้
credit : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95
credit : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น